หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์ ของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร

สถานอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวรประกอบด้วยหอศิลป์ และพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ดังนี้

  • หอประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวร หอประวัติมหาวิทยาลัยนเรศวรเกิดขึ้นจากการดำเนินการศึกษาสืบค้นและรวบรวมข้อมูลความเป็นมาของประวัติและพัฒนาการของมหาวิทยาลัยนเรศวรเริ่มตั้งแต่การเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาพิษณุโลกมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตพิษณุโลก และมหาวิทยาลัยนเรศวรในปัจจุบัน ซึ่งมีรายละเอียดข้อมูลประกอบด้วยประวัติความเป็นมา ตราสัญลักษณ์ และเรื่องราว เหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยในแต่ละยุค เช่น ประวัติบุคคลสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจนถึงสิ้นสุด ประกอบด้วย ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา และการพัฒนางานที่สำคัญ การผลิตบัณฑิต สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การบริการวิชาการ การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งความโดดเด่นของมหาวิทยาลัยในแต่ละยุคให้มีความครบถ้วนรอบด้านมากที่สุด เพื่อเป็นองค์ความรู้ จดหมายเหตุสำคัญไว้เป็นสมบัติที่มีคุณค่าของมหาวิทยาลัย อันจะหล่อหลอมอดีต และสืบสานสู่การพัฒนาในอนาคตต่อไป[2]
  • หอศิลป์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ตั้งเดิมอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนสนามบิน (หรือในปัจจุบันคือโรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร) ภายในจัดแสดงผลงานศิลปะของศิลปินต่าง ๆ กว่า 100 ชิ้น อาทิเช่น ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศน์ศิลป์ รวมทั้งศิลปินที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการและผลงานศิลปะหมุนเวียนตลอดทั้งปีด้วย

ที่ตั้งปัจจุบันนี้หอศิลป์ได้ย้ายมาอยู่ในพื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ อาคารวิสุทธิกษัตริย์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

  • พิพิธภัณฑ์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตั้งอยู่บนชั้น 3 ของหอศิลป์ ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนสนามบิน(ปัจจุบันอยู่ส่วนหนองอ้อ อาคารวิสุทธิกษัตริย์ ชั้น 4) มีการจัดแสดงพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชเท่าพระองค์จริง เหรียญที่ระลึก และศาสตราวุธต่าง ๆ
  • พิพิธภัณฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนหนองอ้อ อยู่บริเวณชั้นล่างอาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยนเรศวร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
    • พิพิธภัณฑ์ผ้า ตั้งอยู่ชั้นล่างของอาคารอเนกประสงค์ จัดแสดงเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของผ้าจากชนชาติต่าง ๆ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับเครื่องนุ่งห่มและการแต่งกาย นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมและนิทรรศการเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายและของประดับเป็นระยะ ๆ ตลอดทั้งปี และมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากผ้าชนิดต่าง ๆ และของที่ระลึกของมหาวิทยาลัยอีกด้วย
    • พิพิธภัณฑ์ชีวิต(Live Museum) ประกอบด้วยกลุ่มอาคารทรงไทยที่อยู่ข้างสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งภายในจะให้ความรู้ในด้านความเป็นมาของผ้าและการทอผ้า ตั้งแต่การปลูกฝ้าย เลี้ยงหม่อน จนถึงการทอผ้าพื้นฐานและการทอผ้าชั้นสูง นำเสนอในรูปแบบ Animation ผสมผสานภูมิปัญญากับเทคโนโลยี บอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาก่อนที่จะเป็นผืนผ้า บนพื้นที่ 200 ตารางเมตร ปรับโฉมตกแต่งให้มีความร่มรื่นของต้นไม้ สายน้ำเป็นสวนหย่อม บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ชีวิตให้เป็น “สวนประติมาธรรม” จัดแสดงผลงานประติมากรรมและดำเนินกิจกรรมทางพุทธศาสนา สำหรับผลงานประติมากรรม ได้รับความอนุเคราะห์จากคณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ มอบผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศจำนวน 13 ชิ้น ประกอบด้วย ประติมากรรมเหล็ก ประติมากรรมหิน และประติมากรรมดินเผา และยังมีเครือข่ายศิลปินทั่วประเทศที่ยินดีมอบผลงานเพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน[3]
  • พิพิธภัณฑ์ลุ่มน้ำโขง-สาละวิน